ทนายความจังหวัดอุดรธานี 086 505 8059

ทนายความจังหวัดอุดรธานี 086 505 8059

เมนู

ตราสัญญาลักษณ์จังหวัดอุดรธานี

ตราสัญญาลักษณ์จังหวัดอุดรธานี

คำขวัญจังหวัดอุดรธานี

“ กรมหลวงประจักษ์สร้างเมือง ลือเลื่องแหล่งธรรมมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง ”  

มารู้จักเมืองอุดรธานี

อุดรธานี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จังหวัดอุดรธานีเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และศูนย์กลางพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง เดิมพื้นที่เมืองอุดรธานีในปัจจุบันคือบ้านเดื่อหมากแข้ง ซึ่งมีมานานร่วมสมัยกับเมืองเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้าง เมืองอุดรธานีได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองศูนย์บัญชาการการปกครองของมณฑลอุดรอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ. 2436 โดยพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งทรงเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการแทนพระองค์ปกครอง มณฑลอุดร ในสมัยที่มีการปกครองในรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล กรุงรัตนโกสินทร์ เมืองอุดรธานีเกิดจากรวมกันของหัวเมืองฝ่ายเหนือในพื้นที่มณฑลอุดร คือ เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาน เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน(เมืองหนองบัวลำภู) และบ้านเดื่อหมากแข้ง มีอาณาเขตปกครองกว้างใหญ่ที่สุดในประเทศ จังหวัดอุดรธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 564 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 7,331,438.75 ไร่)

ปัจจุบันอุดรธานีเป็นศูนย์กลางหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในภูมิภาค ศูนย์กลางการเดินทางทางบกและทางอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

ภูมิศาสตร์

จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ตอนบนของประเทศ หรือที่เรียกว่า อีสานเหนือ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 17 องศา 13 ลิปดา เหนือ ถึง 18 องศา 10 ลิปดาเหนือ และระหว่างเส้นแวงที่ 102 องศา 00 ลิปดา ตะวันออก ถึง 103 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก มีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

ทิศเหนือ จรดจังหวัดหนองคาย (อำเภอสังคม,อำเภอโพธิ์ตาก,อำเภอท่าบ่อ,อำเภอสระใคร,อำเภอเมืองหนองคาย,อำเภอโพนพิสัย,อำเภอเฝ้าไร่)
ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสกลนคร (อำเภอบ้านม่วง,อำเภอเจริญศิลป์,อำเภอสว่างแดนดิน,อำเภอส่องดาว,อำเภอวาริชภูมิ,อำเภอนิคมน้ำอูน,อำเภอกุดบาก)
ทิศใต้ จรดจังหวัดขอนแก่น (อำเภอเขาสวนกวาง,อำเภอกระนวน,อำเภอน้ำพอง)และจังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอคำม่วง,อำเภอสามชัย,อำเภอท่าคันโท,อำเภอหนองกุงศรี)
ทิศตะวันตก จรดจังหวัดเลย (อำเภอปากชม,อำเภอนาด้วง)และจังหวัดหนองบัวลำภู (อำเภอสุวรรณคูหา,อำเภอนากลาง,อำเภอเมืองหนองบัวลำภู,อำเภอโนนสัง)
ภูมิประเทศ

ประกอบด้วยภูเขา ที่สูง ที่ราบ ที่ราบลุ่ม และพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น แบ่งออกได้ 2 บริเวณ คือบริเวณที่สูงทางทิศตะวันตกและทางทิศใต้สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขา บางส่วนเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นถึงลอนลึก มีความสูงจากระดับ น้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร สภาพภูมิประเทศลักษณะนี้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ อำเภอโนนสะอาด อำเภอศรีธาตุ อำเภอวังสามหมอ และด้านตะวันตกของอำเภอกุดจับและอำเภอบ้านผือ มีเทือกเขาสูงสลับเนินเตี้ย บางส่วนเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นสลับพื้นที่นา มีที่ราบลุ่มอยู่บริเวณริมแม่น้ำ เช่น ลำน้ำโมง ลำปาว เป็นต้น

บริเวณพื้นที่ลูกคลื่นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออก สภาพภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น มีที่ดอนสลับที่นา บางส่วนเป็นที่เนินเขาเตี้ย ๆ มีความสูงจาก ระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ยประมาณ 187 เมตร สภาพภูมิประเทศลักษณะนี้ครอบคลุมพื้นที่บริเวณอำเภอบ้านผือ อำเภอกุดจับ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองแสง อำเภอไชยวาน อำเภอเพ็ญ อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอมและอำเภอบ้านดุง มีที่ราบลุ่มเป็นบริเวณกว้างในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี และอำเภอกุมภวาปีซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำปาว พื้นที่ลูกคลื่นดังกล่าวจะมีพื้นที่สูง ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติเดิมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในเขตอำเภอบ้านดุง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำต่างๆเช่น ห้วยน้ำสวย ห้วยหลวง ลำน้ำเพ็ญ ห้วยดาน ห้วยไฟจานใหญ่ และแม่น้ำสงครามเป็นต้น

โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ยประมาณ 187 เมตร พื้นที่เอียงลาดลงสู่แม่น้ำโขงทางจังหวัดหนองคาย ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้และภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายและดินลูกรัง ชั้นล่างเป็นดินดาน ไม่เก็บน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง พื้นบางแห่งเป็นดินเค็มซึ่งประกอบการกสิกรรมไม่ค่อยได้ผลดี พื้นที่บางส่วนเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีพื้นที่ราบแทรกอยู่กระจัดกระจายสภาพพื้นที่ทางตะวันตกมีภูเขาและป่าติดต่อกันเป็น แนวยาว มีเทือกเขาสำคัญคือ เทือกเขาภูพานทอดเป็นแนวยาวตั้งแต่เขตเหนือสุดของจังหวัด

ภูมิอากาศ

จังหวัดอุดรธานีอยู่ใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปจะมีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและหนาวจัดในฤดูหนาว ช่วง 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2554 – 2558) อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 42.0 องศาเซลเซียส (เมษายน2556) อุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 9.8 องศาเซลเซียส (มกราคม 2558) ปี พ.ศ. 2558 อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 28.10 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิ สูงสุดในเดือนเมษายน วัดได้ 41.90 องศาเซลเซียสและต่ำสุดในเดือนมกราคมวัดได้ 9.80 องศาเซลเซียส ความกดอากาศเฉลี่ยทั้งปีวัดได้ 1,009.97 มิลิเมตรปรอท ร้อยละของความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 95.58 เฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 34.08 และร้อยละของความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 70.51

เขตการปกครอง

1 เมืองอุดรธานี Amphoe Mueang Udon Thani เบอร์โทรศัพท์

2 กุดจับ Amphoe Kut Chap เบอร์โทรศัพท์

3 หนองวัวซอ Amphoe Nong Wua So เบอร์โทรศัพท์

4 กุมภวาปี Amphoe Kumphawapi เบอร์โทรศัพท์

5 โนนสะอาด Amphoe Non Sa-at เบอร์โทรศัพท์

6 หนองหาน Amphoe Nong Han เบอร์โทรศัพท์

7 ทุ่งฝน Amphoe Thung Fon เบอร์โทรศัพท์

8 ไชยวาน Amphoe Chai Wan เบอร์โทรศัพท์

9 ศรีธาตุ Amphoe Si That เบอร์โทรศัพท์

10 วังสามหมอ Amphoe Wung Sam Mo เบอร์โทรศัพท์

11 บ้านดุง Amphoe Ban Dung เบอร์โทรศัพท์

17 บ้านผือ Amphoe Ban Phue เบอร์โทรศัพท์

18 น้ำโสม Amphoe Namsom เบอร์โทรศัพท์

19 เพ็ญ Amphoe Phen เบอร์โทรศัพท์

20 สร้างคอม Amphoe Sang Khom เบอร์โทรศัพท์

21 หนองแสง Amphoe Nong Saeng เบอร์โทรศัพท์

22 นายูง Amphoe Na Yung เบอร์โทรศัพท์

23 พิบูลย์รักษ์ Amphoe Phibun Rak เบอร์โทรศัพท์

24 กู่แก้ว Amphoe Ku Kaeo เบอร์โทรศัพท์

25 ประจักษ์ศิลปาคม Amphoe Prachaksinlapakhom เบอร์โทรศัพท์

การเดินทาง

การขนส่ง

เส้นทางคมนาคมและการเดินทางที่สำคัญของอุดรธานี คือ

ทางรถยนต์ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 จากกรุงเทพมหานครไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรีบริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น ถึงอุดรธานี รวมระยะทางประมาณ 564 กิโลเมตร
ทางรถโดยสารประจำทาง ได้แก่ บริการรถโดยสารทั้งธรรมดาและรถปรับอากาศวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (จตุจักร) ถนนกำแพงเพชร 2 นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดต่าง ๆ คือ หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู เลย สกลนคร นครพนม มุกดาหารขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ระยอง พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย กาญจนบุรี หัวหิน ภูเก็ต และจังหวัดอื่น ๆ เป็นต้นรถยนต์โดยสารระหว่างประเทศเส้นทางเดินรถอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์(สปป.ลาว)เส้นทางเดินรถอุดรธานี-หนองคาย-วังเวียง(สปป.ลาว)
ทางรถไฟ ได้แก่ สถานีรถไฟอุดรธานี ได้แก่ ขบวนรถกรุงเทพ-หนองคาย มีขบวนรถตอนเช้า - เย็น, ขบวนรถท้องถิ่น นครราชสีมา-หนองคาย
ทางอากาศ ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ซึ่งเป็นสนามบินหลักของภูมิภาคนี้และสามารถเชื่อมไปยัง สปป. ลาวได้